ชุดตรวจ HIV ด้วยตนเอง Gen 3 หรือ Gen4 เลือกอย่างไร

การตรวจคัดกรองเอชไอวี คือ อะไร?

                   ชุดตรวจ HIV Gen4 หรือ Gen3 การตรวจคัดกรองโรคเอชไอวี คือ การตรวจเพื่อคัดกรองบุคคลทั่วไป หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น หากผลเป็นลบ (เลือดลบ) จะพิจารณาได้ว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี และหากผลออกมาเป็นบวก (เลือดบวก) จะพิจารณาได้ว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจเอชไอวีนี้ถึงแม้จะเป็นการตรวจคัดกรอง แต่มีความแม่นยำสูงมาก

                   การตรวจคัดกรองนี้จะนิยมนำมาใช้ในการตรวจครั้งแรก หรือการตรวจที่ต้องการทราบผลรวดเร็ว เช่น ตรวจคัดกรองผู้มาบริจาคเลือด การตรวจเพื่อเฝ้าระวังโรคในชุมชน เป็นต้น เพราะวิธีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองจะใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่นาน และสามารถทราบผลได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเข้าสู่ระบบการรักษาที่ไวขึ้น เพราะเมื่อเข้ารักษาได้ไว ก็จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีอายุที่ยืนยาวขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองเอชไอวีนั้น ไม่สามารถยืนยันหรือสรุปได้ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นหากผลเลือดเป็นบวก จากการตรวจคัดกรอง ท่านจะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อยืนยันผลอีกครั้งหนึ่งกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ในปัจจุบันนิยมนำเทคนิคชุดตรวจ Rapid Test เข้ามาใช้ในการตรวจคัดกรอง เพราะใช้งานง่าย และทราบผลได้ภายในไม่กี่นาที ดังนั้นการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง จึงใช้เทคนิคนี้เช่นกัน

ตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง

หลายๆ ท่านคงได้ทราบกันมาบ้างแล้วว่า เราสามารถตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองก่อนได้ สำหรับผู้ที่ไม่มั่นใจว่าตนเองได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือไม่ และไม่ต้องการที่จะเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือคลินิกในทันที แต่ต้องการที่จะตรวจสอบด้วยตนเองก่อนว่า มีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ซึ่งการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองนั้น ถูกนำมาใช้กันทั่วโลก เพราะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจเอชไอวีได้มากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีของประเทศ

เทคนิคและวิธีที่ใช้ตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองขณะนี้ จะเป็นแบบ Rapid test โดยตรวจจากเลือดเพื่อหาแอนติบอดีที่มีต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody) โดยสามารถตรวจได้เร็วสุดที่ 21 วันหลังได้รับความเสี่ยง และผลที่ได้จะน่าเชื่อถือมากขึ้นหากตรวจที่ 30 วัน วิธีนี้ทุกคนอาจจะรู้จักกันในชื่อ การตรวจ Gen3

อีกหนึ่งวิธีที่พึ่งถูกนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองเอชไอวี คือ การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อเอชไอวี (p24 antigen) และแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Antibody) ในคราวเดียวกัน หรือที่เราเรียกกันว่า การตรวจ Gen4

 

 

ชุดตรวจ HIV ด้วยตนเอง Gen 3 หรือ Gen4 เลือกอย่างไร

จากการศึกษากราฟแสดงปริมาณเชื้อเอชไอวีที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการติดเชื้อต่อสัปดาห์ ดังที่ปรากฏข้างล่างนี้ โดย

เส้นสีน้ำตาล = กลไกการเพิ่มและลดลงของโปรตีน p24 Antigen ของเชื้อเอชไอวี
เส้นสีเขียว = กลไกการเพิ่มและลดลงของภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อเชื้อเอชไอวี

เปรียบเทียบความแตกต่างของการตรวจ HIV ด้วย Gen3 และ Gen4 จากกราฟด้านบน ได้ดังนี้

  1. หลักการตรวจ ชุดตรวจ HIV Gen4 หรือ Gen3

    ชุดตรวจ HIV Gen4

  2. ระยะเวลาที่สามารถตรวจได้ไวที่สุด
  3. ระยะเวลากับปริมาณ p24 Antigen และ Antibody

ชุดตรวจ Gen4

การตรวจคัดกรองเอชไอวีจะต้องพิจารณาขีดแสดงผล 3 ขีด คือ

– ขีดที่ช่อง Control

– ขีดที่ช่อง Antigen

– ขีดที่ช่อง Antibody

โดยทุกการตรวจนั้น ขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ เพื่อบ่งบอกว่าชุดตรวจนั้นทำงานปกติ หากไม่ปรากฏขึ้น แสดงว่าผลตรวจนั้นผิดพลาด จากนั้นจึงพิจารณาขีดที่เหลือ คือ

– หากพบเพียงขีด Antigen ควรตรวจอีกครั้งที่ระยะห่างจากการตรวจครั้งแรก เพื่อติดตามผล Antibody และหากตรวจครั้งนี้พบว่า ขึ้นขีดทั้ง 2 ช่อง หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล

– หากพบเพียงขีด Antibody หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล (พบเพียงขีด Antibody สามารถเกิดขึ้นได้หากตรวจที่ระยะเวลาที่ได้รับความเสี่ยงมานานแล้ว ซึ่ง Antigen นั้น อาจหมดลง)

– หากพบขีดทั้งที่ช่อง Antigen และ Antibody ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล

– หากตรวจไม่พบขีดที่ช่อง Antigen และ Antibody หมายความว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี

**ย้ำว่าทุกการตรวจขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ การตรวจนั้นจึงจะถูกต้องสามารถเชื่อถือได้

จะเห็นได้ว่าชุดตรวจ Gen4 จะเน้นการแสดงผลของ Antibody เป็นตัวชี้ว่า มีโอกาสหรือไม่ในการได้รับเชื้อเอชไอวี

ชุดตรวจ Gen3

การตรวจคัดกรองเอชไอวีจะต้องพิจารณาขีดแสดงผล 2 ขีด คือ

– ขีดที่ช่อง Control แสดงแบบย่อ คือ C

– ขีดที่ช่อง Test แสดงแบบย่อ คือ T (ขีดที่ช่องนี้จะแสดงถึง Antibody ต่อเชื้อเอชไอวี)

โดยทุกการตรวจนั้น ขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ เพื่อบ่งบอกว่าชุดตรวจนั้นทำงานปกติ หากไม่ปรากฏขึ้น แสดงว่าผลตรวจนั้นผิดพลาด จากนั้นจึงพิจารณาขีดที่เหลือ คือ

– หากพบขีดที่ช่อง Test (T) หมายความว่า มีโอกาสได้รับการติดเชื้อเอชไอวี ให้ท่านเดินทางไปตรวจยืนยันผลที่โรงพยาบาล

– หากตรวจไม่พบขีดที่ช่อง Test (T) หมายความว่า ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี

**ย้ำว่าทุกการตรวจขีดที่ช่อง Control จะต้องขึ้นเสมอ การตรวจนั้นจึงจะถูกต้องสามารถเชื่อถือได้

ตรวจกี่ครั้งจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย

ตรวจกี่ครั้งจึงจะมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ในกรณีที่ผลออกมาว่า เป็นลบ หรือไม่มีการติดเชื้อเอชไอวี หากพิจารณาและแนะนำโดย ชุดตรวจเอชไอวี.com ขออนุญาตแนะนำไว้ ดังนี้

1. ตรวจเพียง 1 ครั้ง

  • ควรตรวจที่ 30 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99%

2. ตรวจ 2 ครั้ง

  • ตรวจที่ 14-30 วัน หรือ 21-30 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99%
  • ตรวจที่หลัง 90 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ 100% ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อรีเช็ค

3. ตรวจ 3 ครั้ง สำหรับผู้ที่กังวลมาก

  • ตรวจที่ 21-30 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99%
  • ตรวจที่ 30-90 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วกว่า 99% บางท่านอาจมีความมั่นใจและกังวลมาก บางครั้งมีอาการบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ตุ่ม ไม่สบายบ่อย เป็นต้น ทำให้ไม่สบายใจ ก็สามารถตรวจอีกครั้งได้ เพื่อความสบายใจ
  • ตรวจที่หลัง 90 วัน หลังเสี่ยง
    การตรวจที่ระยะเสี่ยงนี้ สามารถมั่นใจได้แล้วเกือบ 100% ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อรีเช็ค

        ที่จริงแล้วการตรวจเพียงหนึ่งครั้งที่ระยะเวลาเสี่ยงที่เหมาะสม ก็สามารถมั่นใจได้แล้ว

เพราะมาตรฐานของชุดตรวจแบบ Rapid test ที่ใช้ในกาตรวจคัดกรองนี้ ไทยได้กำหนดมาตรฐานให้มีความแม่นยำสูงกว่า 99.5% ซึ่งเป็นความแม่นยำที่สูงมาก

ดังนั้น หากต้องการตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง ควรเลือกซื้อกับร้านที่จำหน่ายชุดตรวจเอชไอวีที่มีเลข อย.ไทย เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถยืนยันได้ว่าชุดตรวจเอชไอวีนั้นสามารถเชื่อถือได้