ตรวจคัดกรอง Syphilis ด้วยตนเอง ( ชุดตรวจซิฟิลิส )

ชุดตรวจซิฟิลิส โรค Syphilis เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema pallidum เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเริ่มแตกตัวและเจริญเติบโตทำลายอวัยวะข้างเคียง ไปเรื่อย ๆ และเข้าสู่กระแสเลือดลุกลามไปทั่วร่างกาย หากไม่มีการรักษา จะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ในที่สุด

ซิฟิลิส ระยะที่ 1 และ 2 จะมีปริมาณของเชื้อมาก ทำให้หากมีโอกาสได้สัมผัสเชื้อจากผู้ป่วย จะสามารถติดต่อกันได้ง่ายมากกว่า 60% และอาการต่างๆ ของโรคที่เกิดขึ้นในทั้ง 2 ระยะนี้ สามารถหายไปได้เอง ทำให้เข้าใจว่าเป็นแค่อาการทั่วไป และไม่ได้สนใจที่จะตรวจโรค ทำให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยที่ไม่รู้ตัว

การตรวจวินิจฉัยซิฟิลิส

การตรวจวินิจฉัยซิฟิลิสทำได้หลายวิธี แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ หลักๆ คือ
1. วิธี non-treponemal test (Non-TP) ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อ ได้แก่
– Venereal disease research laboratory (VDRL)
– Rapid plasma reagin (RPR)

2. วิธี treponemal test (TP) หรือ specific treponemal antibody test ซึ่งเป็นการหาภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส Treponema pallidum ที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิส ได้แก่
– Fluorescent treponemal antibody absorption (FTA- ABS)
– Treponemal pallidum particle agglutination Test (TPPA)
– Treponema pallidum hemagglutination assay (TPHA)
– Immunochromatography test (ICT)

การตรวจวินิจฉัยโรค Syphilis จะตรวจคัดกรองด้วยวิธี Non-TP ก่อน หากผลออกมาเป็นบวก หรือหมายความว่ามีโอกาสติดเชื้อ จะทำการตรวจยืนยันโดยวิธี TP อีกครั้ง หรือขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

การตรวจคัดกรองซิฟิลิส

ชุดตรวจซิฟิลิส การตรวจคัดกรองซิฟิลิส คือ การตรวจคัดกรองในบุคคลทั่วไป หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อซิฟิลิส โดยการตรวจคัดกรองนี้จะเป็นเพียงการตรวจเบื้องต้น ที่สามารถบอกได้เพียงแค่ว่าท่านมีโอกาสได้รับเชื้อหรือไม่ ไม่สามารถยืนยันหรือสรุปได้ว่าติดเชื้อ ดังนั้นหากตรวจแล้วพบว่าผลเลือดเป็นบวก ท่านควรได้รับการตรวจยืนยันอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ชุดตรวจซิฟิลิส ด้วยตนเอง

เทคนิคชุดตรวจแบบ Rapid Test เป็นรูปแบบการตรวจที่ใช้งานง่าย และทราบผลได้ภายในไม่กี่นาที ดังนั้นการตรวจคัดกรองซิฟิลิสด้วยตนเอง จึงใช้เทคนิคนี้เช่นกัน โดยมีหลักการตรวจ สิ่งที่ใช้ในการตรวจ ระยะเวลาเสี่ยงที่สามารถตรวจได้ และข้อจำกัดดังต่อไปนี้

          1. หลักการตรวจ

ใช้หลักการตรวจแบบ Immunochromatography test โดยตรวจหาภูมิต้านทานหรือตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG และ IgM ต่อเชื้อ Treponema pallidum

 

          2. ใช้อะไรในการตรวจ

เลือด ที่ได้จากการเจาะเลือดปลายนิ้วเพียง 2-3 หยด คล้ายกับการตรวจน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงไม่ได้น่ากลัว และปลอดภัย

          3. ระยะเวลาที่สามารถตรวจได้ไวที่สุด

 จากการศึกษากราฟปริมาณแอนติบอดีชนิดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น-ลดลง หลังจากติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum
โดยพิจารณาเฉพาะเส้นประสีฟ้า ได้แก่
เส้นที่ 1 Treponemal IgM คือ ปริมาณแอนติบอดีชนิด IgM ต่อเชื้อ Treponema pallidum
เส้นที่ 2 Treponemal IgG คือ ปริมาณแอนติบอดีชนิด IgG ต่อเชื้อ Treponema pallidum

เนื่องจาก ชุดตรวจซิฟิลิสด้วยตนเอง เป็นการตรวจแบบ treponemal test (TP) ทางชุดตรวจเอชไอวี.com ขออนุญาตแนะนำระยะเวลาตรวจไว้ดังต่อไปนี้

ชุดตรวจซิฟิลิส

          4. ตรวจได้บ่อยแค่ไหน

          5. ตรวจกี่ครั้งจึงจะมั่นใจว่าปลอดภัย (กรณีที่ผลเป็นลบ)

       

ตรวจซิฟิลิสแล้ว อย่าลืมตรวจเอชไอวี

เชื่อหรือว่าคู่นอนแปลกหน้า หรือคู่นอนคนใหม่ จะนำพาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพียงโรคซิฟิลิสมาให้คุณเพียงโรคเดียว

ในทางการแพทย์หากผลตรวจเลือดออกมาพบว่าเป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะแนะนำให้ตรวจโรคเอชไอวีเพิ่มเติมด้วยเสมอ เนื่องจากช่องทางหรือรูปแบบในการได้รับเชื้อมีความคล้ายกัน

นอกจากโรคซิฟิลิสจะสามารถถ่ายทอดเชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางบาดแผลแล้ว การรับเชื้ออื่นๆ ผ่านทางบาดแผลนั้นก็ทำได้เช่นกัน ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิส ก็มีโอกาสจะติดเชื้อเอชไอวีได้ง่ายๆ เพราะแผลซิฟิลิสนั้นเป็นแผลริมแข็ง ขอบนูนแดง และเลือดออกง่าย โดยจากการศึกษาผู้ที่มีบาดแผลซิฟิลิสมีโอกาสติดโรคเอชไอวีได้ง่าย 2-5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีบาดแผลซิฟิลิส

ดังนั้นหากตรวจพบว่าเป็นโรคซิฟิลิส ก็ควรที่จะตรวจโรคเอชไอวีร่วมด้วย รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ